รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8110
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 6681
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระสมเด็จสามสมัย วัดชิโนรส กรุงเทพ ปี2512 พิมพ์สมเด็จสุโขทัย ลงรักปิดทองเดิม
หมายเลข : 3053
พระสมเด็จสามสมัย วัดชิโนรส กรุงเทพ ปี2512 พิมพ์สมเด็จสุโขทัย ลงรักปิดทองเดิม
 
พระพิมพ์สิบสตางค์ หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ปี2495-2504 เนื้อผง
หมายเลข : 7239
พระพิมพ์สิบสตางค์ หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง จ.นนทบุรี ปี2495-2504 เนื้อผง
 
พระสมเด็จ เนื้อผง หลวงพ่อเวก วัดศาลาหมูสี (วัดลาดศรัทธาธรรม) จ.เพชรบุรี ประมาณปี 2490-2500
หมายเลข : 8505
พระสมเด็จ เนื้อผง หลวงพ่อเวก วัดศาลาหมูสี (วัดลาดศรัทธาธรรม) จ.เพชรบุรี ประมาณปี 2490-2500
 
พระนางพญา เนื้อดิน กรุวัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพ
หมายเลข : 8315
พระนางพญา เนื้อดิน กรุวัดโพธิ์ท่าเตียน กรุงเทพ
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

พระกรุบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก

วัดบางระกำ หรือ วัดสุนทรประดิษฐ์ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นที่รู้จักของนักนิยมสะสมพระเครื่อง โดยเฉพาะนักเล่นรุ่นเก่า เพราะเป็นสถานที่ซึ่งพบ พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ และพระฝักไม้ดำ – ฝักไม้ขาว
กำเนิดของพระกรุบางระกำ ในยุคสมัยที่ พระครูพุทธิสุนทร (หรุ่น ติสฺสโร) เป็นเจ้าอาวาส วัดสุนทรประดิษฐ์ พระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ พระอาจารย์ถีร์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดลครทำ ฝั่งธนบุรี ได้ล่องเรือตามลำคลองมายังตลาด บางระกำ พร้อมกับพระพิมพ์บรรจุในไห จุดมุ่งหมายเพื่อนำไปมอบให้หลวงพ่อขำ วัดฝักไม้ดำ (โพธิ์เตี้ย) อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร แต่แล้วด้วยมีอุปสรรคในการคมนาคม จึงแวะที่ตลาดบางระกำ แล้วฝากพระในไหไว้ที่บ้าน นายอู่ใช้ แซ่ลิ้ม คหบดีในตลาดบางระกำ
เมื่อวันเวลาได้ผ่านไปแรมปี ต่อมานายอู่ใช้ได้ขายบ้านหลังดังกล่าวนั้นให้กับนายละม่อม และนางกิมเอ็ง เนตรแก้ว โดยไม่ได้มีการเคลื่อนย้ายพระในไหแต่อย่างใด คงไว้ดังเดิม เจ้าของบ้านคนใหม่พบเห็นเข้า จึงนำพระไปไว้ในโบสถ์วัดบางระกำ โดยวางไว้ด้านหลัง หลวงพ่อนฤมิต พระประธานในอุโบสถ อีกทางหนึ่งก็ว่า นายอู่ใช้ เป็นผู้เคลื่อนย้ายพระในไหจากบ้านมายังโบสถ์ดังกล่าวด้วยตนเอง
ต่อมาในปี พ.ศ.2485 อันเป็นปีที่ประเทศไทยตกอยู่ในภาวะสงครามที่เรียกว่า มหาเอเชียบูรพา ในช่วงระยะเวลาปีดังกล่าวนี้ได้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่หลายจังหวัด รวมทั้งจังหวัดพิษณุโลกด้วย วัดสุนทรประดิษฐ์ ซึ่งอยู่ในที่ลุ่มและริมฝั่งแม่น้ำยม ก็ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยดังกล่าวนี้ด้วย น้ำได้ไหลบ่าเข้าไปในโบสถ์ พระพิมพ์ที่ซุกซ่อนอยู่หลังพระประธานจมอยู่ในน้ำเป็นเวลานาน เมื่อน้ำลดจึงมีคราบตะกอนดินติดอยู่ที่ผิวพระ จนบางท่านเข้าใจว่าเป็นพระกรุ หรือบางท่านเข้าใจถูกแล้วแต่ด้วยธรรมชาติขององค์พระเฉกเช่นเดียวกับพระกรุจึงเรียกเช่นนั้นต่อ ๆ กันมา

   

สมัยนั้น ทางวัดมิได้สนใจกับพระพิมพ์ดังกล่าวนี้เลย ใครจะหยิบฉวยไปอย่างไร จำนวนเท่าไหร่ ก็ไม่ว่า โดยเฉพาะเด็กวัดหยิบเอามาเล่นทอยกองกันอย่างสนุกสนาน จนในที่สุดพระก็ไม่มีเหลืออยู่เลย

พระพิมพ์จากวัดบางระกำ หรือวัดสุนทรประดิษฐ์ มีด้วยกัน 2 แบบ คือ พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ และพิมพ์สมเด็จฝักไม้ดำ – ฝักไม้ขาว

พระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อ ขนาดกว้างประมาณ 3 ซ.ม. สูงประมาณ 4.5 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นพระปางลีลาหันพระพักตร์ไปทางซ้าย ด้านข้างมีอักขระยันต์นูน ด้านหลังเป็นพระ 3 องค์ ประทับนั่งปางสมาธิ ปางมารวิชัย และพนมมือ ใต้องค์พระและเหนือองค์พระมีอักขระยันต์นูน ด้านล่างสุดมีตัวราชสีห์กับเสือ ส่วน พระพิมพ์สมเด็จฝักไม้ดำ – ฝักไม้ขาว ขนาดกว้างประมาณ 2 ซ.ม. สูงประมาณ 3 ซ.ม. ด้านหน้าเป็นพระปางสมาธิประทับเหนืออาสนะ 3 ชั้น อยู่ภายในซุ้มเส้นลวด ด้านหลังเป็นอักขระยันต์นูน ปัจจุบันหาชมได้ยากยิ่งและมีของเก๊ระบาดแพร่หลาย เนื่องจากสมัยก่อนโด่งดังมาก

ด้านพุทธคุณนั้น เด่นทางมหาอุด และคงกระพันชาตรี เคยมีเรื่องทีเกิดขึ้นและเป็นที่ประจักษ์ต่อชาวบ้าน ชายคนหนึ่งโดนแทงในงานบวชนาคแต่ไม่เข้าเพราะห้อยพระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่ออยู่ในคอ ลือกันว่าสมัยก่อนบรรดาจอมพลต่างแขวนห้อยคอกันแทบทั้งนั้น รวมทั้งสั่งให้ลูกน้องเสาะหามาใช้เช่นเดียวกับพระร่วงหลังรางปืน และน่าจะด้วยเหตุผลนี้นี่เองจึงทำให้พระพิมพ์กรุบางระกำหลุดรอดเข้าสู่สนามน้อยเต็มทีจนแทบจะกลายเป็นตำนานหนึ่งของพระเครื่องเมืองไทยไปแล้วในขณะนี้
ที่มาภาพและข้อมูล : ตำรานักเล่นพระ (มหาโพธิ์) ฉ.15 1-15 มิ.ย. 40

ตอนที่ 2 : ที่มาข้อมูลจาก หนังสือ “พระเครื่องตระกูลสมเด็จ 3 โดย ประเจียด คงศาสตรา”

เดิมทีประวัติพระสมเด็จวัดสุนทรประดิษฐ์ หรือวัดบางระกำนั้น เป็นที่สับสนในหมู่นักเล่นหาพระเครื่องอยู่พอสมควร นักเลงพระเมืองพิษณุโลก ได้เผยความจริงว่า พระชุดนี้ได้ไขว้เขวเรื่องชื่อมาแต่สมัยที่พระชุดนี้เข้าสูงกรุงเทพใหม่ ๆ โดยผู้ที่นำไปให้เช่านั้นเข้าใจผิดว่าพระนี้ หลวงพ่อขำ วัดโพธิ์เตี้ย (ชาวบ้านเรียกวัดฝักไม้ดำ) เป็นผู้สร้าง สมเด็จที่มีสีดำจึงเรียกฝักไม้ดำ และสมเด็จที่มีสีขาวก็เรียกฝักไม้ขาว คู่กันไป ความสับสนดังกล่าวได้ถูกเปิดเผยเมื่อ คุณวิทยา หาญไพบูลย์ ได้ติดตามสืบค้นความเป็นมาของพระชุดดังกล่าวจากผู้ที่เกี่ยวข้อง จนได้พบความจริงในที่สุด
จากธนบุรีสู่สองแถว พิษณุโลก ผู้นำเอาสมเด็จสีดำ และสมเด็จสีขาวนี้มาสู่เมืองพิษณุโลก ก็คือ พระอาจารย์ถีร์ ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่ วัดลครทำ บ้านช่างหล่อ ธนบุรี ตอนนั้นพระอาจารย์ถีร์ได้ทำการรื้ออิฐจากพระเจดีย์ที่ชำรุดออกมาเพื่อทำเป็นทางเดินในวัด และได้พบกับพระสมเด็จขาวและดำจำนวนหนึ่ง จึงรวบรวมและนำพระชุดดังกล่าวขึ้นเรือ เพื่อนำไปให้หลวงพ่อขำ วัดฝักไม้ดำ ต.ลานกระบือ แต่ด้วยการคมนาคมสมัยนั้นลำบากบวกกับภารกิจอื่นของท่าน ทำให้ท่านไปไม่ถึงยังจุดหมายที่ได้ตั้งใจไว้ จึงนำพระดังกล่าวไปฝากไว้กับ นายอู้ใช้ แซ่ลิ่ม โยมอุปฐาก ที่ตลาดเก่าริมแม่น้ำยม โดยสั่งไว้ว่าให้เก็บไว้ให้ดี เมื่อมีโอกาสขึ้นมาอีกจะนำไปวัดฝักไม้ดำ

เมื่อพระอาจารย์ถีร์ลงไป ก็ไม่ได้ขึ้นมายังบ้านนายอู้ใช้อีกเลย นายอู้ใช้เก็บรักษาพระไว้จนในที่สุดบ้านก็ถูกเปลี่ยนมือมาเป็นของ นายละม่อม นายละม่อมจึงได้รวมรวมพระทั้งหมดไปฝากไว้ในพระอุโบสถวัดสุนทรประดิษฐ์ (วัดบางระกำ) ด้านหลังพระประธาน พระชุดดังกล่าวจึงได้ถูกลูกศิษย์วัดนำมาเล่นบ้าง หยิบเอาไปใช้บ้าง จนมีบางคนเห็นดีนำมาให้เช่าที่ตัวจังหวัดพิษณุโลก พระได้รับความนิยม จึงพากันนำไปขายพวกนักเลงพระ นักเลงพระเอาล่องจากพิษณุโลกมายังกรุงเทพ และบอกว่าพระนี้นำมาจากวัดบางระกำบ้าง วัดฝักไม้ดำบ้าง ทำให้เกิดความสับสนในที่มา จนมีผู้สืบค้นและนำมาเปิดเผยตามที่กล่าวข้างต้น
พุทธลักษณะของพระฝักไม้ดำ เป็นพระพิมพ์สี่เหลี่ยมชิ้นฟัก ด้านหน้าเป็นรูปพระลีลายืนหันด้านข้าง มีอักขระล้อมยกกรอบเส้นลวดนูนอย่างงดงาม ด้านหลังเป็นพระพุทธสามองค์นั่งเรียงกัน องค์กลางสูงกว่าเล็กน้อย ด้านบนมีอักขระว่า มะ อุ อะ ด้านหลังมีอักขระว่า นะ ปะ ทะระหัง และด้านล่างมีสิงห์และเสือหันหน้าเข้าหากันคล้ายกำลังป้อนอาหารแก่กัน ล้อมรอบด้วยกรอบเส้นลวดนูน พระฝักไม้ดำจึงมีนามอีกอย่างหนึ่งว่า สิงห์ป้อนเหยื่อ ด้วยลักษณะอาการของสิงห์และเสือที่อยู่ด้วยกันนั่นเอง

พุทธลักษณะของพระฝักไม้ขาว ด้านหน้าเป็นพระพุทธประทับนั่งสมาธิเพชรอยู่ในกรอบเส้นลวดนูนสองชั้น มีซุ้มแหลมครอบองค์พระอยู่ด้านใน มีอักขระกำกับด้านบนซุ้มสองข้างว่า นะ ปะ ใต้ฐานองค์พระมีอักขระว่า คัจฉะ อุอะ ด้านหลังเป็นอักขระอยู่ในกรอบเส้นลวดสี่เหลี่ยม ตรงกลางเป็น เฑาะห์ ด้านบนมีอักขระว่า อุท ธัง
เนื้อหาของพระชุดนี้แบ่งได้ 2 ลักษณะคือ สีดำ เป็นผงใบลานผสมผง และสีขาวเป็นผงพุทธคุณ ซึ่งจากกาลเวลาและถูกบรรจุกรุมาก่อน ทำให้พระชุดนี้มีเนื้อหาที่งามซึ้ง และยังพบคราบไคลเกาะแน่นกับองค์พระ แลดูมีเสน่ห์ยิ่งนัก ............ พระชุดนี้ในจังหวัดพิษณุโลกหาของแท้ดูได้ยาก มีแต่พระฝีมือ และของใหม่ที่ท่านเจ้าอาวาสวัดสุนทรประดิษฐ์ (วัดบางระกำ) นำเอาพระแตกชำรุดที่รวบรวมได้ มาตำป่นผสมสร้างขึ้นใหม่อีกครั้งเท่านั้น

จบตอนที่ 2

   

   

ตอนที่ 3 : บทวิเคราะห์เพิ่มเติม พระกรุบางระกำ

เมื่อพิจารณาข้อมูลจากทั้ง 2 แหล่งที่มาข้างต้น ข้อมูลดังกล่าวดูจะสอดคล้องกันดี โดยเฉพาะในเรื่องของความเป็นมาเป็นไป จะขาดก็แต่ในส่วนของข้อมูลผู้จัดสร้างพระชุดดังกล่าวนี้ ซึ่งหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะมีผู้ใดผู้หนึ่งสืบเสาะค้นหาประวัติต่อไป

พระกรุหรือไม่ ..... เป็นข้อมูลที่ดูเหมือนว่าจะแตกต่าง แต่ก็สอดคล้องกัน จากที่มาของแหล่งข้อมูลทั้ง 2 ส่วน ..... พระกรุวัดสุนทรประดิษฐ์ หรือกรุวัดบางระกำ ตามที่เรียกหากันนั้น หาใช่พระที่บรรจุกรุอยู่ที่วัดบางระกำ หากแต่เป็นพระที่เคยบรรจุกรุอยู่ที่วัดลครทำ บ้านช่างหล่อ ธนบุรี มาก่อน จากประสบการณ์ที่พอมีมาบ้างจากพระกรุนี้ ก็ขอยืนยันอีกเสียงหนึ่งว่าเป็นพระกรุจริง ๆ คราบกรุที่เห็นจะเป็นลักษณะเป็นไข มากบ้าง น้อยบ้าง เป็นลักษณะหย่อม ๆ หรือเป็นเม็ด ๆ ประปราย แลดูขุ่น ๆ แต่มีน้ำมีนวล มีคราบไคลเกาะตามผิวกลืนไปกับคราบกรุ แต่ด้วยที่มาที่ไปทำให้พระชุดดังกล่าวถูกรู้จักในนามพระกรุวัดบางระกำ หากจะเปลี่ยนชื่อเสียให้ถูกต้องเป็นพระกรุวัดลครทำ ก็คงจะไม่เหมาะสมนัก เนื่องด้วยชื่อ พระกรุวัดบางระกำ เป็นที่รู้จักและเข้าใจตรงกันโดยทั่วของคนทั้งวงการ หากเรียกอีกอย่างก็จะทำให้สับสนกันไปอีก แต่อย่างน้อยก็เป็นข้อมูลให้นักเล่นหาได้ทราบถึงที่มาที่ไปของพระกรุดังกล่าวนี้

ทั้งหมดคือข้อมูลที่นักนิยมสะสมพระเครื่องได้เคยบันทึกไว้ และทางเว็บไซต์ได้นำมาเรียบเรียง ถ่ายทอด ประกอบการวิเคราะห์อีกต่อหนึ่ง เพื่อมิให้ข้อมูลดี ๆ พระดี ๆ สูญหายไปจากวงการ หวังว่าจะมีประโยชน์กับนักสะสมไม่มากก็น้อย ............................. www.collection9.net

จบตอนที่ 3
ตอนที่ 4 : เพิ่มเติมข้อมูลจากหนังสือพระเครื่องยอดนิยมประจำจังหวัดพิษณุโลก จัดพิมพ์โดยคเณศ์พร

ข้อมูลทั่ว ๆ ไปก็จะเป็นไปในทำนองเดียวกับที่ได้พูดถึงข้างต้นแล้ว ขอเพิ่มเติมเฉพาะในส่วนที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้

นายละม่อม และนางกิมเอ็ง เจ้าของบ้านและผู้รักษาพระในขณะนั้น เห็นว่าไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาพระเอาไว้ ประกอบกับน้ำเริ่มท่วมหนัก จึงนำพระทั้งหมดไปฝากไว้ในโบสถ์วัดสุนทรประดิษฐ์ ทางด้านหลังพระประธาน ครั้งสมัยที่ พระครูพุทธิสุนทร (หนุ่ม) เป็นเจ้าอาวาส พระที่ถูกรักษาไว้เริ่มถูกทยอยนำออกแจกจ่าย จนกระทั่งหมดจากวัดในที่สุด เหลือก็แต่พระที่แตกหักชำรุดเท่านั้น

ในปี พ.ศ. 2503 พระครูประภาสธรรมมาภรณ์ (รำยอง) เป็นเจ้าอาวาส ได้นำพระที่ชำรุดแตกหักมาบดเป็นผงผสมกับผงของท่าน สร้างพระพิมพ์สิงห์ป้อนเหยื่อขึ้นมาใหม่อีกครั้งหนึ่ง

จบตอนที่ 4

เข้าชมรายการพระฝักไม้ขาว กรุบางระกำ จ.พิษณุโลก คลิ๊กตรงนี้


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.