รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8110
รูปหล่อโบราณอุดกริ่ง รุ่นแรก หลวงพ่อแดง วัดภูเขาหลัก จ.นครศรีธรรมราช ปี2508 เนื้อโลหะผสมรมดำ พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระสมเด็จ 100ปี วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ ปี2515 พิมพ์ใหญ่ บล็อคเศียรโต A เต็มพิมพ์ ผิวแตกลายงา พร้อมบัตรชมรมฯ และบัตรเซียร 100ปี ระบุสภาพสวย
หมายเลข : 6584
พระสมเด็จ 100ปี วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพ ปี2515 พิมพ์ใหญ่ บล็อคเศียรโต A เต็มพิมพ์ ผิวแตกลายงา พร้อมบัตรชมรมฯ และบัตรเซียร 100ปี ระบุสภาพสวย
 
พระบัวเข็ม เนื้อสมุกใบลานลงรักปิดทอง วัดชนะสงคราม กรุงเทพ ปี245x
หมายเลข : 7006
พระบัวเข็ม เนื้อสมุกใบลานลงรักปิดทอง วัดชนะสงคราม กรุงเทพ ปี245x
 
งบน้ำอ้อย เนื้อดิน กรุเตาทุเรียง จ.สุโขทัย พิมพ์ 25 พระองค์ (หักครึ่ง)
หมายเลข : 7016
งบน้ำอ้อย เนื้อดิน กรุเตาทุเรียง จ.สุโขทัย พิมพ์ 25 พระองค์ (หักครึ่ง)
 
พระชุดใหม่เตรียมลง
หมายเลข : 4482
พระชุดใหม่เตรียมลง
 
กล่องพระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) กรุงเทพ ปี2517 (กล่องชุด 12 องค์)
หมายเลข : 4248
กล่องพระสมเด็จบางขุนพรหม วัดใหม่อมตรส (วัดบางขุนพรหม) กรุงเทพ ปี2517 (กล่องชุด 12 องค์)
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

ประวัติพระเทพสิทธาจารย์ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพประดิษฐาราม จ.นครพนม


พระเทพสิทธาจารย์ หรือ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย เกิดเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2424 ที่บ้านท่าอุเทน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม บรรพชาเมื่ออายุ 10 ปี เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้บิดาที่ถึงแก่กรรมที่วัดโพนแก้ว อุปสมบทครั้งแรกที่วัดโพนแก้ว อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ต่อมาเปลี่ยนญัตติเป็นพระธรรมยุติที่วัดศรีทอง จังหวัดอุบลราชธานี พระสังฆรกฺขิโต (พูน) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูหนู ธิตปญฺโญ (พระปัญญาพิศาลเถร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้ฝึกฝนอบรมธรรมกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ที่วัดเลียบเป็นเวลา 3 ปี จึงได้กลับไปตั้งวงค์ธรรมยุติที่บ้านเกิดจังหวัดนครพนม ดังนี้

ใน พ.ศ.2445 ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายกัมมัฏฐาน ซึ่งพำนักอยู่ที่ วัดเลียบ จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วย พระปัญญาพิศาลเถร (ธิตปญฺโญ หนู) วัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ ขณะนั้นยังเป็นพระครูอยู่วัดใต้ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ได้เดินทางผ่านมาถึงจังหวัดนครพนม มาปักกลดปฏิบัติธรรมอยู่ภายใต้ต้นโพธิ์ ตอนใต้เมืองนครพนม ประชาชนจำนวนมากพากันไปกราบไหว้ฟังธรรม และขอรับแนวทางการปฏิบัติธรรมบำเพ็ญสมาธิมิได้ขาด พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงเมืองนครพนมทราบ่าว จึงไปกราบนมัสการและสนทนาธรรมกับพระอาจารย์ทั้งสอง การพบปะสนทนากันในครั้งนั้น ท่านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ได้ชี้แจงความเป็นมาของตัวเองว่าเคยเป็นศิษย์ของ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพฯ พร้อมทั้งได้เล่าถึงพฤติกรรมของพระภิกษุสามเณรในจังหวัดนครพนมให้ท่านทราบ และขอให้ช่วยหาทางแก้ไขด้วย

เหรียญรุ่นแรกพระเทพสิทธาจารย์ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย ปี 2500

ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร จึงแนะนำให้เสาะหาคัดเลือกพระภิกษุสามเณรผู้เลียวฉลาดมีความประพฤติดี และสมัครใจที่จะทำทัฬหิกรรมญัตติเป็นภิกษุสามเณรในคณะธรรมยุติติกนิกาย เพื่อไปอยู่ศึกษาข้อวัติปฏิบัติในสำนักของอาจารย์ทั้งสองให้มีความหนักแน่นมั่นคงในพระธรรมวินัย แล้วจึงส่งกลับมาอยู่นครพนมตามเดิม จะได้ช่วยกันแก้ไขความประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรในจังหวัดนครพนมให้ดีขึ้น

ท่านพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์จึงได้เสาะแสวงหาพระภิกษุสามเณรที่มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ทาบทามพระภิกษุได้ 4 รูป สามเณรอีก 1 รูป ในจำนวน 4 รูปนั้น มีพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย รวมอยู่ด้วย พระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ได้นำภิกษุทั้ง 5 รูปมาถวายตัวเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถร สำหรับพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย นั้นมีความรู้พื้นฐานทางสมถกัมมัฏฐานอยู่ก่อนแล้ว เมื่อเข้ามาเป็นศิษย์ท่านพระอาจารย์เสาร์จึงรู้สึกถูกอัธยาศัยเป็นอย่างยิ่ง ข้อวัตรปฏิบัติใดที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจจึงตั้งใจศึกษา และเรียนถามจากครูบาอาจารย์ พร้อมทั้งใส่ใจฝึกปฏิบัติอย่างจริงจัง มีความเจริญก้าวหน้าในการปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างรวดเร็ว

ในปลาย พ.ศ.2445 ท่านพระอาจารย์เสาร์และพระปัญญาพิศาลเถร ก็ได้อำลาประชาชนเดินทางกลับสู่จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมด้วยพระภิกษุ 4 รูป คือ พระภิกษุจันทร์ เขมิโย พระภิกษุสา พระภิกษุหอม พระภิกษุสังข์ และสามเณรอีก 3 รูป ในจำนวน 3 รูปนี้มี สามเณรจูม จันทรวงศ์ (ต่อมาเป็นพระธรรมเจดีย์) รวมอยู่ด้วย คณะของท่านพระอาจารย์เสาร์ได้เดินจาริกธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ หยุดพักรอนแรมกลางป่าดงพงไพร ไปพบสัตว์ป่านานาชนิด มีเสือ ช้าง อง ละมั่ง ควายป่า เป็นต้น เมื่อเจอสัตว์ป่า ท่านพระอาจารย์เสาร์ก็สั่งให้คณะสั่งลงกับพื้นดิน แล้วแผ่เมตตาให้สัตว์เหล่านั้น พระภิกษุสามเณรทุกรูปก็จะแคล้วคลาดปลอดภัย ท่านเจ้าคุณเทพสิทธาจารย์กล่าวไว้ว่าในการบำเพ็ญกัมมัฏฐานในป่านั้น ประการสำคัญต้องทำตนให้เป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ ถ้าศีลไม่บริสุทธิ์ มักจะมีความวิตกกังวลซึ่งจะทำให้เกิดความไม่เชื่อมั่นในตัวเอง ต่อจากนั้นก็มีอันเป็นไป หากมีศีลบริสุทธิ์จิตใจก็จะสงบเป็นสมาธิได้ง่าย และอีกประการหนึ่งจะต้องยึดมั่นในพระรัตนตรัย ระลึกถึงพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ และพระสังฆคุณอยู่เสมอ

เหรียญรุ่นแรกพระเทพสิทธาจารย์ หลวงปู่จันทร์ เขมิโย ปี 2500

พ.ศ.2446 ขณะที่ท่านพระอาจารย์และคณะพำนักอยู่ที่วัดเลียบ ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร เป็นพระอาจารย์รับภาระธุระอบรมแนะนำสั่งสอนข้อวัตรปฏิบัติต่าง ๆ ฝึกซ้อมอักขระฐานกรณ์คำขอรับทัฬหิกรรมให้ถูกต้องตามภาษาบาลี ตลอดถึงการฝึกซ้อมบทสวดมนต์ต่าง ๆ เป็นเวลา 4 เดือนเต็ม เมื่อการฝึกซ้อมอักขระฐานกรณ์คำขอรับทัฬหิกรรมถูกต้องคล่องแคล่วทุกรูปและการเตรียมการทุกอย่างพร้อมแล้ว ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ก็นำท่านและคณะไปประกอบพิธีทำทัฬหิกรรมญัตติเป็นพระภิกษุสามเณรธรรมยุติโดยสมบูรณ์ ณ พระอุโบสถ วัดศรีอุบลรัตนาราม (วัดศรีทอง) อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี โดยมี พระสังฆรักขิโต (พูน) วัดศรีอุบลรัตนาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปัญญาพิศาลเถร (ธิตปญฺโญ หนู) ครั้งยังเป็นพระครูฯ อยู่วัดใต้ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณาสโย สุ้ย) วัดสุปัฏนาราม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า เขมิโย

หลังจากที่ท่านอุปสมบทญัตติเป็นพระธรรมยุตแล้ว ท่านได้กลับมาพำนักอยู่วัดเลียบ ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ทางด้านการศึกษาปริยัติธรรม พระอาจารย์จันทร์ก็มิได้ทอดทิ้ง ท่านสนใจในการเรียนรู้อย่างมิรู้เบื่อหน่าย พยายามศึกษาพระปริยัติธรรมแผนใหม่ ได้แก่ วิชาธรรมะ วิชาวินัย วิชาพุทธประวัติ และวิชาอธิบายกระทู้ธรรม ซึ่ง พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท จันทร์) ได้นำมาเผยแพร่ที่อุบลฯ ส่วนแนวทางการปฏิบัติกัมมัฏฐาน พระอาจารย์จันทร์ได้ฝึกอบรมในสำนักของท่าน พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺตเถร และพระปัญญาพิศาลเถร จนมีความรู้ความก้าวหน้าทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติอย่างแท้จริง มีจิตใจมั่นคงไม่หวั่นไหวต่อสิ่งเย้ายวน

สำหรับการอยู่พำนักร่ำเรียนทั้งปริยัติและปฏิบัติ ณ วัดเลียบ แห่งนี้ พระอาจรย์จันทร์ใช้เวลาอยู่นานประมาณ 3 ปีเต็ม ๆ โดยระหว่างนั้น นอกเหนือจากการอยู่ร่ำเรียนภายในสำนักแล้ว บางครั้งบางโอกาสท่านยังร่วมกับ 2 ท่านพระอาจารย์ใหญ่ออกธุดงค์แสวงหาความวิเวกเร่งทำความเพียรอย่างอุกฤษณ์ด้วย

เหรียญรุ่นแรก หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพประดิษฐาราม ปี 2500

ต่อมา พ.ศ.2449 ขณะนั้นพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย ยังมีอายุพรรษาน้อย ถ้าจะกล่าวตามหลักพระวินัยบัญญัติแล้วก็จะเป็นพระภิกษุนวกะอยู่ ยังต้องถือนิสัยในสำนักพระอุปัชฌาย์อาจารย์ต่อไปอีกประมาณ 2 พรรษา จึงจะจัดเป็นพระมัชฌิมะเป็นนิสัยมุตตกะ พ้นจากการถือนิสัยในสำนักพระอุปัชฌาอาจารย์ อยู่เป็นอิสระเฉพาะตนเองได้ แต่ถึงกระนั้นก็ตามพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนม นับตั้งแต่ท่านและคณะได้เดินทางจากจังหวัดนครพนมไปจังหวัดอุบลราชธานีแล้ว ก็ตั้งใจมุ่งหน้าคอยวันคอยคืนที่พระอาจารย์จันทร์และคณะจะเดินทางกลับมาจังหวัดนครพนม จนวันเวลาแห่งการรอคอยผ่านพ้นไปถึง 3 ปีแล้ว กำลังจะย่างเข้าสู่ปีที่ 4 เมื่อไม่มีวี่แววว่าท่านพระอาจารย์จันทร์และคณะจะเดินทางกลับมา จึงได้มีหนังสือส่งไปถวายท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร เรียนประสงค์ตั้งเดิมที่ได้พูดตกลงกันไว้เป็นการเตือนความทรงจำฉบับหนึ่ง ส่งไปถวายพระอาจารย์จันทร์ขอนิมนต์ท่านและคณะให้เดินทางกลับจังหวัดนครพนมฉบับหนึ่ง ส่งไปกราบทูลถวายพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ ข้าหลวงต่างพระองค์ที่ประจำอยู่จังหวัดอุบลราชธานีทูลขอพระอาจารย์จันทร์และคณะให้เดินทางกลับไปจัดตั้งพระธรรมยุตขึ้นในจังหวัดนครพนมอีกฉบับหนึ่ง ทั้งนี้เพระสมัยนั้นมีการเข้มงวดกวดขันในการจัดตั้งวัดธรรมยุตตามสมควร พระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตจะไปจัดตั้งสำนักขึ้นใหม่ในสถานที่แห่งใดก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาตจากข้าหลวงต่างพระองค์ประจำมณฑลนั้น ๆ เสียก่อน เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงจะนำคณะไปจัดตั้งขึ้นได้

พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร เมื่อได้รับหนังสือของพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดนครพนม และได้ทราบว่าพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ มีพระประสงค์จะพบและดูตัวพระอาจารย์จันทร์ เขมิโย และคณะ จึงได้นำท่านและคณะเข้าเฝ้าพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์เพื่อให้ดูตัวและถวายพระพรให้ทรงทราบ พร้อมกับถวายพระพรขออนุญาตให้พระอาจารย์จันทร์และคณะนำพระธรรมยุตไปจัดตั้งสำนักขึ้นในจังหวัดนครพนม เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ทรงเห็นตัวพระอาจารย์แล้ว ทรงมีรับสั่งว่า พระอย่างคุณหรือจะนำคณะธรรมยุตไปตั้งที่จังหวัดนครพนม รูปร่างเล็ก ยังหนุ่มจัด ความรู้ยังอ่อน หาพอที่จะรักษาตัวและหมู่คณะได้ไม่ น่าจะไปตายเพราะผู้หญิง ฉันเกรงว่าจะนำวงศ์ธรรมยุตไปทำเสื่อมเสีย ท่านพระอาจารย์เสาร์ได้ฟังดังนั้นจึงได้ถวายพระพรเล่าถึงพฤติการณ์ความเป็นมาแห่งจรรยามารยาท ความประพฤติปฏิบัติ ความเฉลียวฉลาด ปฏิภาณไหวพริบ ความมีอัธยาศัยมั่นคงหนักแน่นในพระธรรมวินัยข้อวัตรปฏิบัติของพระอาจารย์จันทร์และคณะทุกรูปที่เข้าเฝ้าให้ทรงทราบทุกประการ และยังถวายพระพรยกย่องท่านเป็นพิเศษอีกด้วยว่า พระจันทร์รูปนี้มีจิตใจมั่นคง เข้มแข็ง มีอัธยาศัย หนักแน่นกว้างขวางและสูงส่งมาก เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจของพระภิกษุผู้เป็นอาจารย์ อาตมภาพคิดว่าการที่พระจันทร์จะนำวงศ์ธรรมยุตไปทิ้งทำให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่คณะสงฆ์รรมยุตนั้นเห็นจะเป็นไปได้ยาก เพราะว่าอาตมภาพได้ฝึกฝนอบรมแล้วพิจารณาเห็นสมควรอนุญาตให้นำคณะธรรมยุตไปจัดตั้งที่จังหวัดนครพนมได้

   

สมเด้จรุ่นแรก หลวงปู่จันทร์ เขมิโย วัดศรีเทพฯ ปี 2500

เมื่อพระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงสรรพสิทธิประสงค์ได้ทรงสดับคำชี้แจงและคำรับรองจากท่านพระอาจารย์เสาร์อย่างนั้นแล้ว สุดท้ายก็ทรงอนุญาตให้ท่านและคณะนำคณะธรรมยุตไปเผยแพร่และจัดตั้งสำนักขึ้นที่จังหวัดนครพนมได้ตามความประสงค์ ทั้งได้ทรงพระอักษรเป็นหนังสือเดินทางมอบให้ฉบับหนึ่ง ในหนังสือนั้นมีข้อความระบุลงไปอย่างชัดเจนตอนหนึ่งว่า ให้นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ในระยะทางที่เดินผ่าน ให้จัดคนตามส่งตลอดทาง และให้จัดที่พักอาศัย อาหารถวายด้วย เมื่อกลับจากที่เฝ้าแล้ว ต่อมาท่านก็พาคณะไปกราบลาเจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (ติสฺสเถร อ้วน) วัดบรมนิวาส กรุงเทพมหานคร ครั้งยังดำรงค์สมณศักดิ์ที่พระศาสนดิลก อยู่วัดสุปัฏนาราม จังหวัดอุบลาชะนี เจ้าประคุณสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ได้เมตตาให้โอวาทแนะนำอุบายวิธีการปกครองหมู่คณะ และทำหนังสือรับรองมอบให้หนึ่งฉบับเช่นกัน จากนั้นก็ได้ไปกราบลา ท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร พระปัญญาพิศาลเถร (ฐิตปญฺโญ หนู) พระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ (ญาณาสโย สุ้ย) พระอนุสาวนาจารย์ และพระภิกษุที่รู้จักคุ้นเคยอื่น ๆ ตลอดจนญาติโยมที่รู้จักคุ้นเคยชาวจังหวัดอุบลราชธานีด้วย

จากนั้นพระอาจารย์จันทร์ได้นำวงศ์ธรรมยุตมาก่อตั้งที่จังหวัดนครพนมได้สำเร็จทางด้านประยัติโดยจัดการเรียนการสอนนักธรรมขึ้น พร้อมทั้งการปฏิบัติกัมมัฏฐานลุล่วง ท่านได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองในการเผยแผ่กัมมัฏฐาน ทั้งี้เพระได้รับการอบรมฝึกฝนมาอย่าดีจากท่านพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีลเถร ผู้เป็นพระปรมาจารย์ใหญ่สายพระกัมมัฏฐาน

ด้วยการบำเพ็ญประโยชน์ต่อพระศาสนา ต่อมาท่านได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพสิทธาจารย์ เมื่อ พ.ศ.2502

ท่านมรณะภาพด้วยโรคชราใน วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2516 สิริรวมอายุได้ 92 ปี พรรษา 71

ที่มา : พระยอดนิยมอุบลราชธานี และ ของดีลุ่มแม่น้ำโขง ... มรดกพระเครื่อง


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.