รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ปี249x ติดรางวัลที่ 3 งานประกวดนายร้อยสามพราน
หมายเลข : 5746
พระสมเด็จรุ่นแรก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร ปี249x ติดรางวัลที่ 3 งานประกวดนายร้อยสามพราน
 
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 6681
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระลีลา เนื้อว่าน อาจารย์ศรีแก้ว วัดไทรใหญ่ จ.สงขลา
หมายเลข : 7584
พระลีลา เนื้อว่าน อาจารย์ศรีแก้ว วัดไทรใหญ่ จ.สงขลา
 
พระขุนแผน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) จ.กาญจนบุรี ปี2497
หมายเลข : 3419
พระขุนแผน หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว (วัดศรีอุปลาราม) จ.กาญจนบุรี ปี2497
 
รายการใหม่เตรียมอัพเดท
หมายเลข : 4656
รายการใหม่เตรียมอัพเดท
 
สมเด็จบางขุนพรหม ปี2531 วัดใหม่อมตรส กรุงเทพ พิมพ์ใหญ่ บล็อคตื้น (เกศจุด) พระบิ่นกะเทาะในเลี่ยม (พลาสติกร้าว)
หมายเลข : 8050
สมเด็จบางขุนพรหม ปี2531 วัดใหม่อมตรส กรุงเทพ พิมพ์ใหญ่ บล็อคตื้น (เกศจุด) พระบิ่นกะเทาะในเลี่ยม (พลาสติกร้าว)
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

ประวัติพระร่วงนั่ง กรุคอกควาย จ.ชัยภูมิ


   

พระร่วงนั่ง กรุคอกควาย จ.ชัยภูมิ

ณ หมู่บ้านโสกรวก ต.หนองบัวโคก อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ ยังมีเรื่องราวเล่าขานถึงความมหัศจรรย์อันน่าพิศวงให้ปรากฏเสมอใน วันขึ้น - แรม 8 ค่ำ หรือ 15 ค่ำ ชาวบ้านมักจะได้ยินเสียงมโหรีขับกล่อมดังแว่วมาตามสายลม ไม่มีใครพอที่จะทราบได้เลยว่าต้นเหตุแห่งเสียงนั้นมาจากทิศทางใด และเพราะเหตุใดเจ้าเสียงนี้จะเกิดขึ้นเฉพาะในวันพระ แต่สิ่งที่าวบ้านโสกรวกทุกคนพอที่จะรู้ก็คือ บริเวณนี้แต่เดิมในอดีตน่าจะเป็นชุมชนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก่อน เพราะในบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านยังปรากฏร่องรอยกำแพงเมืองโบราณเป็นคูดินและมีสระน้ำใหญ่มีบริเวณกว้างพอสมควร อีกทั้งยังมีการค้นพบเสาหินศิลาแลง ขอบประตูที่เป็นหินและชิ้นส่วนของพระพุทธรูปหินทรายกระจัดกระจายอยู่ทั่วบริเวณหมู่บ้าน

นายโก้ มิกขุนทด และ นางแฉล้ม มิกขุนทด สองสามีภรรยามีอาชีพทำนา - ทำไร่ อาศัยอยู่บ้านโสกรวกแห่งนี้มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ซึ่งแต่เดิมนั้นพื้นที่ของหมู่บ้านยังเป็นป่ารกชัฏ จวบจนปัจจุบันได้มีการขยายพื้นที่ของหมู่บ้านออกไป ด้วยจำนวนประชากรที่นับวันแต่จะเพิ่มขึ้น โดยมีผู้คนอาศัยอยู่ประมาณ 280 กว่าคน แบ่งเป็นหลังคาเรือนได้ประมาณ 50 หลังคาเรือน แต่ทว่าหมู่บ้านนี้ยังไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน เมื่อจะทำกิจทางศาสนาจะต้องเดินทางไปยังหมู่บ้านใกล้เคียง ด้วยเหตุนี้เองสองสามีภรรยาจึงได้มีความเห้นว่าควรจะมอบที่ดินของตนเองส่วนหนึ่งให้เป็นสาธารณะสมบัติของหมู่บ้านเพื่อต้องการจะให้สร้างวัด

      

พระพิมพ์อู่ทองสุวรรณภูมิ พบในกรุคอกควาย จ.ชัยภูมิ

ชาวบ้านโสกรวกทุกคนมีความยินดีป็นอย่างมาก เมื่อทราบข่าวการบริจาคที่ดินจำนวน 8 ไร่ 1 งาน เพื่อสร้างวัดประจำหมู่บ้าน และในวันที่ 5 ธันวาคม 2540 ซึ่งเป็นวันพ่อแห่งชาติ คือ วันพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ ชาวบ้านโสกรวกหลายสิบคนโดยการนำของ นายหนูชิด แสนชั่ง ผู้ใหญ่บ้านได้ร่วมใจกันปรับพื้นที่ดังกล่าวโดยใช้รถแทรคเตอร์มาไถปรับพื้นที่ 1 คัน ในขณะที่รถแทรคเตอร์ไถที่เนินดินนั้น ได้ไถไปถูกก้อนหินใหญ่เข้าโดยบังเอิญ เมื่อชาวบ้านมาตรวจดู จึงได้พบ พระพิมพ์ขนาดใหญ่จำนวน 3 องค์ กว้างประมาณ 2 นิ้วครึ่ง สูงประมาณ 3 นิ้วครึ่ง เป็นพระพิมพ์อู่ทองสุวรรณภูมิ จึงได้เกิดความสงสัยว่าบริเวณที่พบพระดังกล่าวน่าจะมีอะไรอยู่อีก จึงได้ช่วยกันขุดรอบ ๆ บริเวณนั้นจนพบคราบหินปูนสีขาวเรียงรายอยู่เป็นจำนวนมาก พร้อมทั้งยังมีเศษกระเบื้องโบราณแตกอยู่ทั่วไป และเมื่อขุดตามแนวคราบหินปูนลึกลงไปประมาณ 1 เมตร ก็พบกระปุกเคลือบสีน้ำตาลอมดำมีฝาครอบลวดลายสวยงาม ภายในมีพระพิมพ์บรรจุอยู่จำนวน 27 องค์ เมื่อนับรวมกับอีก 3 องค์ที่พบก่อนรวมเป็น 30 องค์

   

พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ พบในกรุคอกควาย จ.ชัยภูมิ

จากการสำรวจพระพิมพ์ดังกล่าว จึงสามารถแยกออกเป็นพิมพ์ต่าง ๆ ได้คือ พระพิมพ์อู่ทองสุวรรณภูมิ พบครั้งแรก 3 องค์ พระพิมพ์ซุ้มปรางค์ฐานบัวสองชั้น 2 องค์ ที่เหลือนอกนั้นจำนวน 25 องค์ เป็น พระร่วงนั่งพิมพ์สมาธิ ขนาดกว้าง 3 ซ.ม. สูง 4 ซ.ม. เป็นเนื้อตะกั่วสนิมแดง มีคราบไขขาวและคราบหินปูนเกาะติดแน่น และเมื่อดูกันให้ชัด ๆ ปรากฏว่าพระร่วงนั่งที่พบในครั้งนี้ก็คือ พระร่วงนั่งกรุคอกควาย ที่พบในอดีตเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2515 นั่นเอง

พระร่วงนั่งกรุคอกควาย เป็นชื่อที่เรียกตามสถานที่ที่ขุดพบในครั้งแรก และจุดที่ขุดพบในครั้งแรกนั้นอยู่ห่างจากจุดที่ขุดพบใหม่เพียง 150 เมตร เท่านั้นเอง ปัจจุบันแม้แต่ชาวบ้านโสกรวกเองก็ยังไม่มีใครทราบได้ว่า ภายในบริเวณพื้นที่ของหมู่บ้านยังจะมีศิลปกรรมอันทรงคุณค่านี้หลงเหลืออยู่อีกมากน้อยแค่ไหน แต่จากการค้นพบในครั้งนี้ ชาวบ้านที่ขุดพบได้ตกลงแบ่งกันเก็บไว้เป็นสมบัติส่วนตัวคนละองค์ และกันเอาไว้จำนวน 10 องค์ ยกให้เป็นสมบัติส่วนรวม เพือเอาไว้ตอบแทนแก่ผู้มีจิตศรัทธามาร่วมบริจาคทรัพย์ในการสร้างวัดแห่งนี้ นับเป็นเหตุการณ์อันปาฏิหาริย์ เป็นนิมิตหมายแห่งความสำเร็จที่ชาวบ้านมีจิตศรัทธาที่จะสร้างวัดแห่งหมู่บ้านโสกรวกแห่งนี้

ที่มา : พระยอดนิยมภาคอีสาน ชุด วัฒนธรรมขอม ... มรดกพระเครื่อง

ประมวลภาพ พระกรุคอกควาย จ.ชัยภูมิ คลิ๊กตรงนี้


พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.