รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระปิดตาหลวงพ่อบุญธรรม วัดไพร่ฟ้า จ.ปทุมธานี พิมพ์ประคำรอบ เนื้อผงคลุกรัก ประมาณปี 2466-2491 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8452
พระปิดตาหลวงพ่อบุญธรรม วัดไพร่ฟ้า จ.ปทุมธานี พิมพ์ประคำรอบ เนื้อผงคลุกรัก ประมาณปี 2466-2491 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระกริ่งกรมการรักษาดินแดน (กริ่ง ร.ด.) เนื้อเงิน ปี2513 หมายเลข 3313 พร้อมบัตรลายเซ็นต์เจ้ากรมการรักษาดินแดน เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ อธิษฐานจิต ติดรางวัล ที่ 2, 2
หมายเลข : 3914
พระกริ่งกรมการรักษาดินแดน (กริ่ง ร.ด.) เนื้อเงิน ปี2513 หมายเลข 3313 พร้อมบัตรลายเซ็นต์เจ้ากรมการรักษาดินแดน เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ อธิษฐานจิต ติดรางวัล ที่ 2, 2
 
ชินราช เนื้อดิน หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ.พระนครศรีอยุธยา ทาบรอนซ์ทองเดิม
หมายเลข : 7260
ชินราช เนื้อดิน หลวงปู่ยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน จ.พระนครศรีอยุธยา ทาบรอนซ์ทองเดิม
 
พระพิมพ์กลีบบัว เนื้อผง กรุวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
หมายเลข : 4274
พระพิมพ์กลีบบัว เนื้อผง กรุวัดพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี
 
เหรียญแพรแถบที่ระลึกเสด็จเถลิงราชมไหศวรรยสมบัติบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ปี2468
หมายเลข : 2500
เหรียญแพรแถบที่ระลึกเสด็จเถลิงราชมไหศวรรยสมบัติบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) ปี2468
 
หลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี2506 พิมพ์กลางฐานเตี้ย เนื้อเทา มวลสารสมเด็จบางขุนพรหม
หมายเลข : 7735
หลวงพ่อทวด วัดประสาทบุญญาวาส กรุงเทพ ปี2506 พิมพ์กลางฐานเตี้ย เนื้อเทา มวลสารสมเด็จบางขุนพรหม
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

พระผง หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง จ.นนทบุรี ปี2484

ประวัติวัดศรีรัตนาราม (บางพัง) โดยสังเขป

วัดศรีรัตนาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกขานกันทั่วไปว่า “วัดบางพัง” ตั้งอยู่ เลขที่ 39 บ้านคลองบางพัง ซอยสวัสดี หมู่ที่ 2 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดโบราณสร้างครั้งสมัยอยุธยาตอนปลาย ราวปี พ.ศ. 2305 ไม่ทราบนามผู้สร้าง ชาวบ้านนิยมเรียกขานนามวัดว่า “วัดบางพัง” ตามนามท้องที่ที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี สาเหตุที่ชื่อวัดบางพัง ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า เพราะน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยากัดเซาะพื้นดินริมตลิ่งแถบบริเวณนั้นพังเข้ามามากเป็นบริเวณกว้างมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้ว จึงได้เรียกกันว่าตลิ่งพังแล้วและกลายมาเป็นบางพังในที่สุด วัดนี้ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันมีทางรถยนต์ตัดเข้าถึงวัดทำให้การคมนาคมไปมาหาสู่กันสะดวก

เจ้าอาวาสเท่าที่สืบทราบได้จำนวน 4 รูป คือ (ที่มา : มหาโพธิ์ 15 ธ.ค. 31)

รูปที่ 1 พระอธิการเริญ
รูปที่ 2 หลวงพ่อแฉ่ง ศิลปัญญา
รูปที่ 3 พระอธิการประมวล ปวัฑฒโน
รูปที่ 4 พระอธิการอินทร์ อกตมโล เจ้าอาวาสปัจจุบัน (ปี31)

ประวัติหลวงพ่อแฉ่ง โดยสังเขป

หลวงพ่อแฉ่งท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก มีอาคมขลัง มีพลังทางจิตแก่กล้า เป็นพระปฏิบัติเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐานในช่วงยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นผู้คงแก่เรียน เป็นศิษย์หลายสายหลายสำนักด้วยกัน และเป็นศิษย์ในหลวงพ่อปานวัดบางนมโค จ.อยุธยาด้วย (ได้รับอิทธิพลพระพิมพ์ทรงสัตว์จากหลวงพ่อปาน) ด้วยเหตุที่กล่าวมานี้จึงทำให้วัดบางพังในอดีตคึกคัก มีผู้คนเดินทางมาจากถิ่นใกล้และไกล มาฝากตัวเป็นศิษย์เรียนวิชากับหลวงพ่อแฉ่งเป็นอันมาก บางคนก็มาขอวัตถุมงคล บางคนก็มารักษาโรค บางคนก็มาปรึกษาความและเรื่องราวร้อยแปด เพราะเขาเหล่านั้นเห็นว่าหลวงพ่อท่านช่วยได้

ผู้ที่ไปขอเรียนคาถาอาคม หลวงพ่อท่านจะให้ฝึกจิตบังคับใจเรื่องสมถวิปัสนากรรมฐานก่อน เมื่อเห็นว่าพอจะใช้ได้ไปไหว จึงจะให้นิสัยธรรมข้อหนึ่งที่หลวงพ่อมักจะอบรมสั่งสอน (เข้าใจว่าคุณธรรม) หลังจากนั้นจึงจะบอกตัวคาถาและเคล็ดวิชาต่าง ๆ ให้ การเรียนวิชาอาคมจากหลวงพ่อนั้น ท่านมิใช่แต่เพียงให้ศิษย์เรียนผูกเท่านั้น ท่ายังให้ศิษย์เรียนแก้ด้วย ครบถ้วนกระบวนการ คือ เพื่อป้องกันแก้ไขคนที่มีทุกข์ถูกของถูกคุณให้พ้นภัย เป็นต้น

หลวงพ่อแฉ่ง มรณะภาพราว ปี2502 ศพของท่าน สมเด็จพระสังฆราช (จวน) วัดมกุฎกษัตริยาราม โปรดให้นำมาฌาปณกิจที่วัดมกุฎฯ และในงานศพของหลวงพ่อแฉ่งก็ได้แจกเหรียญรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัดเป็นของที่ระลึกด้วย


การสร้างวัตถุมงคล

หลวงพ่อแฉ่งท่านสร้างวัตถุมงคลไว้หลายสิ่งหลายอย่างด้วยกัน มีทั้งพระเนื้อผง พระเนื้อดินเป็นรูปพระรอดองค์เล็ก ๆ, ตะกรุด, ผ้ายันต์ธง และทรายเสก เป็นต้น แต่ในตอนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะพระเนื้อผงเพียงอย่างเดียว ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอยู่ทั่วไป

มูลเหตุในการจัดสร้าง บรรดาศิษย์และผู้ใกล้ชิดที่ศรัทธาในจริยวัตรของหลวงพ่อพร้อมใจกันขอให้หลวงพ่อสร้างอิทธิวัตถุ เพื่อเป็นของที่ระลึก และคุ้มครองป้องกันตน ประกอบกับในระยะนั้นมีเค้าของสงครามจะปะทุระเบิดขึ้น ผู้คนเริ่มเสาะแสวงหาวัตถุมงคลเอาไว้คุ้มกันตัว และเพื่อตอบแทนชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญบริจาคทรัพย์สมทบทุนสร้างถาวรวัตถุสิ่งต่าง ๆ ภายในวัด หลวงพ่อแฉ่งได้สร้างวัตถุมงคลขึ้นในปี พ.ศ.2484 แจกให้ศิษย์และชาวบ้านที่ศรัทธามาขอพระจากท่านเพื่อนำไปคุ้มครองป้องกันตัว

จำนวนในการจัดสร้าง วัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างขึ้นมีจำนวนเท่าไร ไม่มีใครทราบ เพราะมิได้มีการจดบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นการทยอยสร้างทยอยปลุกเสก กล่าวคือพอสร้างได้จำนวนมากพอสมควรแล้วท่านก็จะทำพิธีปลุกเสกเสียคราวหนึ่ง เป็นการปลุกเสกเดี่ยว จากนั้นจึงนำมาแจกเสียคราวหนึ่ง จำนวนพระทั้งหมดที่สร้าง หลายท่านยืนยันว่าไม่ถึง 84,000 องค์ สันนิษฐานกันว่าประมาณหนึ่งหมื่นองค์เศษ ๆ เห็นจะได้ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างนั้น แจกฟรี ไม่มีการเช่าบูชาเหมือนปัจจุบัน ส่วนใครจะศรัทธาบริจาคทรัพย์ทำบุญให้วัดจำนวนเท่าไหร่ เป็นเรื่องของศรัทธาและกำลังทรัพย์ของแต่ละท่าน

พระหลวงพ่อแฉ่งใช้ดีด้านไหน วัตถุมงคลที่หลวงพ่อสร้างและปลุกเสกนั้น มีประสบการณ์เป็นที่โจษขานไปทั่วตอนสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ ด้านแคล้วคลาดจากภยันตรายต่าง ๆ ทางด้านเมตตามหานิยมก็ไม่เบาเช่นกัน (ตรงนี้เป็นความเชื่อพื้นฐานเกี่ยวกับพระเนื้อผงอยู่แล้ว ว่ากันว่าพระเนื้อผงส่วนใหญ่จะมีพุทธคุณด้านเมตตา) นอกจากนี้ยังใช้เป็นพระหมอแบบพระหลวงพ่อปาน วัดบางนมโคได้อีกด้วย

ลักษณะและสีของเนื้อพระ พระเนื้อผงที่หลวงพ่อแฉ่งสร้างขึ้นเป็นเนื้อประเภทปูนปั้นไม่ได้เผาไฟ ส่วนผสมหลักคือปูนขาวจากเปลือกหอยและน้ำมันตังอิ๊ว นอกนั้นก็เป็นผงวิเศษ 5 ประการ คือ ผงอิธะเจ ผงปถะมัง ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห นอกนั้นก็มีเกสรดอกไม้ที่ชื่อเป็นมงคลนาม ทรายเสก และข้าวสุก เป็นต้น การโขลกตำเนื้อพระและส่วนผสมตลอดจนการกรองผงมีความประณีตบรรจงมาก เนื้อละเอียดเนียนเข้ากันสนิท การผสมน้ำมันตังอิ๊วก็พอดี เนื้อพระแลดูนุ่มตาฉ่ำใส สีเหลืองเข้มกว่าสีของเนื้อพระกรุวัดคู้สลอดเล็กน้อย (กรณีไม่บรรจุกรุ) เรียกขานกันว่าเนื้อเทียนชัย เพราะสีของเนื้อพระแลดูคล้ายเทียนขี้ผึ้งสีเหลืองนั่นเอง แต่แลดูฉ่ำใส มีความซึ้งมากกว่าเทียน สามารถแลเห็นส่วนผสมภายในที่ลึกลงไปได้ด้วยแว่นขยาย

การแยกพิมพ์ทรง พระเนื้อผงที่หลวงพ่อสร้างมีกี่แบบกี่พิมพ์ไม่มีใครตอบได้ ทางวัดก็ไม่มีเก็บข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน ส่วนใหญ่ก็รู้เท่าที่ตัวเองมีอยู่ และหนังสือลงข้อมูลกันไว้ หากจะแยกย่อยออกไปจริง ๆ น่าจะมีมากกว่า 30 พิมพ์ แม้ว่าพิมพ์หลัก ๆ จะมีอยู่ประมาณ 10 พิมพ์ แต่ในพิมพ์หลัก ๆ นั้นก็ยังแยกย่อยออกไปอีก ยกตัวอย่างเช่น พิมพ์ทรงหนุมานไม่ถือพระขรรค์ ถือพระขรรค์ข้างซ้าย ถือพระขรรค์ข้างขวา มีครอบแก้ว ไม่มีครอบแก้ว เป็นต้น แต่จะหาผู้ที่เก็บรวบรวมได้ครบจริง ๆ ยังไม่เคยเห็น ยิ่งปัจจุบันเข้าสนามว่าหาของแท้ของท่านยากแล้ว ให้แท้และสวยยิ่งยากเป็นเท่า ๆ ตัว เพราะพระของท่านนั้น เนื้อค่อนข้างเปราะ กะเทาะ แตกหัก ชำรุดง่าย ผู้ที่มีเก็บต้องระมัดระวังดูแลรักษาเป็นอย่างดี



พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.