รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8311
พระกริ่งคลองตะเคียน กรุวัดโคกจินดา จ.อยุธยา พิมพ์ยอดปลีไหล่ยกหน้ากลาง ประมาณพุทธศตวรรษที่ 22-23 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระพุทธรูปเนื้อหินทรายแกะ ยุคสมัยอาณาจักรทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
หมายเลข : 8309
พระพุทธรูปเนื้อหินทรายแกะ ยุคสมัยอาณาจักรทวาราวดี ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-16 พร้อมบัตรรับรองสมาคมฯ
 
พระรอด เนื้อดิน กรุวัดโปรดเกษ จ.นนทบุรี โซนเนื้อละเอียด
หมายเลข : 6751
พระรอด เนื้อดิน กรุวัดโปรดเกษ จ.นนทบุรี โซนเนื้อละเอียด
 
พระกำแพงซุ้มยอ เนื้อดิน กรุทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร
หมายเลข : 6181
พระกำแพงซุ้มยอ เนื้อดิน กรุทุ่งเศรษฐี จ.กำแพงเพชร
 
พระสมเด็จ อุ อะ พระอาจารย์คำ วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี (อาจารย์หลวงพ่อซวง) หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ปลุกเสก
หมายเลข : 4164
พระสมเด็จ อุ อะ พระอาจารย์คำ วัดสิงห์ จ.สิงห์บุรี (อาจารย์หลวงพ่อซวง) หลวงพ่อซวง วัดชีปะขาว ปลุกเสก
 
พระผงพิมพ์จันทร์ลอย หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม รุ่นบูชาครู ปี 2511 เนื้อชานหมาก
หมายเลข : 1441
พระผงพิมพ์จันทร์ลอย หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม จ.นครปฐม รุ่นบูชาครู ปี 2511 เนื้อชานหมาก
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

ประวัติและภาพวัตถุมงคล ทุกรุ่น ทุกพิมพ์ หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร ธรรมสถานเขาสามยอด จ.ลพบุรี (ตอนที่1)

หลวงปู่เรือง อาภัสสะโร ชื่อเดิมว่า บุญเรือง นามสกุล สุขสันต์ เกิดเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 10 มกราคม 2457 (ตรงกับแรม 10 ค่ำ เดือน 2 ปีขาล) เวลา 08.00 น. ที่ ต.บ้านสร้าง อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี ต่อมาได้ย้ายมาอยู่บ้านสระข่อย ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ์ (ได้แยกเป็น อ.โคกปีบ แล้วต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ อ.ศรีมโหสถ) จ.ปราจีนบุรี โยมบิดา ชื่อ นายคำพันธ์ สุขสันต์ โยมมารดา ชื่อนางศรี สุขสันต์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 8 คน ชาย 5 หญิง 3 หลวงปู่เป็นคนที่ 2

เมื่อเข้าเกณฑ์ศึกษา หลวงปู่ได้เข้ารับการศึกษาชั้นประถม ที่โรงเรียนขุนโคกปีบปรีชา โดยมีคุณครูหลั่น ปราณี ผู้ทั้งเป็นครูสอนและครูใหญ่ (ต่อมาลาออกมาเป็นกำนัน ต.โคกปีบ) หลวงปู่เรียนจบจนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ท่านเก่งทั้งภาษาไทย และภาษาขอม เมื่อเรียนจบแล้วทางราชการได้ให้ท่านช่วยสอนหนังสือ เพราะเห็นว่า ท่านเรียนเก่งมาก และฉลาด ในสมัยนั้น (ปี พ.ศ.2468) คนที่เรียนหนังสือมีน้อยมาก และที่จะเรียนจนจบชั้นประถม 4 ยิ่งหาได้ยากยิ่ง แต่ท่านไม่รับสอน กลับมาช่วยโยมบิดามารดาทำไร่ทำสวนจนอายุครบอุปสมบท

หลวงปู่เข้ารับการอุปสมบทตามประเพณีชายไทย เมื่ออายุครบบวชจะต้องบวชทดแทนคุณบิดามารดา ท่าานอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ ที่ 6 ก.ค. 2477 (ตรงกับวันแรม 10 ค่ำ เดือน 8 ปีจอ) เวลา 14.08 น. ณ วัดสระข่อย ต.โคกปีบ อ.ศรีมหาโพธิ์ จ.ปราจีนบุรี อายุ 21 ปี (ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 7) โดยมี พระสมุห์จำปา (ต่อมาเป็น พระครูวิมลโพธิ์เขต) วัดสระข่อย อันเป็นเจ้าคณะหมวด (เจ้าคณะตำบลโคกปีบ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูพัด ธัมมะธีโร วัดโคกมอญ (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นวัดโคกไทย) ต.โคกปีบ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์ฉัตร คังคะปัญโญ วัดต้นโพธิ์ ต.โคกปีบ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ อันมีพระครูพิบูล วัดท่าประชุม อ.ศรีมหาโพธิ์ เป็นเจ้าคณะแขวง (เจ้าคณะอำเภอศรีมหาโพธิ์) ได้รับฉายาว่า “อาภสสโร” (อาภัสสะโร)

ท่านได้จำพรรษาและศึกษาพระธรรมพระวินัยอยู่กับพระอุปัชฌาย์ที่วัดสระข่อย (อยู่ใกล้สระมรกตประมาณ 2 ก.ม.) เป็นเวลา 10 พรรษา โดยได้อยู่รับใช้ปฏิบัติพระอุปัชฌาย์พร้อมทั้งศึกษาวิชาต่าง ๆ จากพระอุปัชฌาย์ จนเป็นที่รักและไว้วางใจยิ่งจากพระอุปัชฌาย์

ด้านการศึกษาธรรมะ หลวงปู่ได้เรียนนักธรรมชั้นตรีและสอบได้นักธรรมชั้นตรีในพรรษาแรกนี้เลย (พ.ศ. 2477) จากสำนักเรียนที่วัดของท่าน พรรษาที่ 2 (พ.ศ.2478) สอบได้นักธรรมโท พรรษาที่ 3 สอบได้นักธรรมเอก จะเห็นได้ว่า หลวงปู่ให้ความสำคัญต่อการศึกษามาก และหาได้ยากยิ่ง ที่พระภิกษุเรียนเก่งขนาดสอบได้ปีละชั้น ทั้งที่พรรษายังน้อย อายุแค่ 23 ปีเท่านั้น

เมื่อท่านเรียนจบนักธรรมแล้ว พระอาจารย์ฉัตร วัดต้นโพธิ์ อันเป็นพระคู่สวดของท่าน ได้มาขอท่านจากพระอุปัชฌาย์ให้ไปช่วยสอนธรรมะที่วัดต้นโพธิ์ ท่านก็ไปช่วยสอนอยู่ระยะหนึ่ง พร้อมกันนี้ท่านได้ศึกษาวิชาบาลีมูลกัจจายน์ และวิชาโหราศาสตร์สมุนไพรใบยาพร้อมด้วยวิชาคาถาอาคมต่าง ๆ ไปด้วย จนพรรษาพ้น 10 พรรษาแล้ว ท่านเห็นว่าได้ศึกษาวิชาการพอที่จะปกครองตนเองได้แล้ว จึงกราบลาพระอุปัชฌาย์เพื่อออกธุดงค์แสวงวิเวกประพฤติปฏิบัติธรรมไปในที่ต่าง ๆ โดยก่อนจากไป หลวงปู่ได้ขอผ้าจีวรจากพระอุปัชฌาย์ไปเพียง 1 ชุด พระอุปัชฌาย์ทั้งรักทั้งห่วงลูกศิษย์รูปนี้มาก แต่เพื่ออนาคตของศิษย์ท่านอนุญาตให้ไปได้ โดยได้ยกผ้าครองให้ทั้งชุด หลวงปู่กราบลาพระอุปัชฌาย์อันเป็นที่เคารพยิ่ง พร้อมทั้งกล่าวว่า “ผมไปแล้ว ผมจะไม่กลับมาอีก จะแสวงหาวิมุตติธรรมไปเรื่อย ๆ” จนทุกวันนี้ (ข้อมูลหนังสือเล่มนี้ ปี41) เป็นเวลากว่า 50 ปี แล้ว หลวงปู่ก็ยังไม่ได้กลับไปวัดบ้านเดิมอีกเลย

หลวงปู่ตัดสินใจเด็ดขาด สะพายย่ามแบกกลดเดินทางออกจากวัดไปเรื่อย ๆ ค่ำไหนนอนนั่น เช้าก็ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ หนทางสมัยก่อนยังไม่เจริญเหมือนสมัยนี้ ต้องใช้เกวียนเป็นส่วนมาก เดินทางธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะภาคอีสาน หลวงปู่เดินทางธุดงค์ไปจนทั่ว มีอยู่ครั้งหนึ่งหลวงปู่เดินทางธุดงค์มาที่กรุงเทพฯ แล้วแวะจำพรรษาที่วัดท่าหลวง จ.นนทบุรี (ปัจจุบันไม่ทราบว่าเปลี่ยนชื่อเป็นวัดอะไร) พอดีช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ทหารญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในเมืองไทยมาก ทำให้ฝ่ายพันธมิตร ซึ่งนำโดยสหรัฐอเมริกา ได้มาทิ้งระเบิดแถว ๆ กรุงเทพฯ และเขตปริมณฑลเป็นจำนวนมาก ที่ท่านอยู่ก็ใกล้กองกำลังญี่ปุ่นจึงพลอยฟ้าพลอยฝน โดนระเบิดหล่นใส่ใกล้วัดเป็นประจำ ชาวบ้านในเขตนั้นก็ย้ายอพยพไปอยู่ยังต่างจังหวัดกันเกือบหมด มีญาติโยมมาถามหลวงปู่ด้วยความเป็นห่วงว่า หลวงปู่ไม่ย้ายไปต่างจังหวัดหรือ ? ไม่กลัวโดนระเบิดหล่นใส่หรือไง ? หลวงปู่บอก คนเราเมื่อถึงที่ตาย อยู่ตรงไหนก็ตาย ไม่มีใครหนีพ้นหรอก ตอนเครื่องบินมาทิ้งระเบิด หวอก็เปิดดังลั่นไปหมด เพื่อให้คนหลบภัยในที่กำบัง หลายคนวิ่งเข้าวัดหลบในอุโบสถบ้าง ทั่ว ๆ ไปบ้าง แต่หลวงปู่กลับนั่งภาวนาอยู่บนศาลาเฉย ๆ ไม่ไปหลบที่ไหน พระเณรอยู่ในวัดก็หลบกันหมด แต่ที่น่าแปลกคือ ระเบิดที่มาทิ้งเที่ยวแล้วเที่ยวเล่ากลับตกแค่รอบ ๆ วัด ไม่ตกในวัดเลย (ทิ้งตอนกลางคืน)

ระยะปลาย ๆ สงครามโลกครั้งที่ 2 หลวงปู่ได้เดินธุดงค์ขึ้นอีสาน แล้วกลับมาอยู่ที่ จ.ลพบุรี ที่ถ้ำพิบูลย์ในปี พ.ศ.2489 (พรรษาที่ 13) (ถ้ำพิบูลย์อยู่ใกล้วัดพระบาทน้ำพุ ที่ดูแลผู้ป่วยโรคเอดส์ในปัจจุบัน) หลวงปู่เรืองได้จำพรรษาที่ถ้ำพิบูลย์ 5 พรรษา ต่อมาทางทหารได้มานิมนต์ให้ท่านไปอยู่วัดที่สร้างใหม่ เป็นที่เจริญ และใหญ่โตกว่าที่เดิม อีกทั้งไม่กันดาร เพราะที่ท่านอยู่นี้เป็นเขตของทหาร และทหารซ้อมยิงอาวุธอยู่บ่อย ๆ กลัวว่าจะเป็นอันตรายได้ อีกอย่างในหน้าแล้งกันดารน้ำมาก จึงขอให้ไปอยู่ที่วัดที่สร้างใหม่ แต่หลวงปู่ไม่ไป กลับเก็บกลดสะพายย่าม ธุดงค์เข้าป่าลึกไปเลย

ท่านเดินธุดงค์อยู่ในป่า เดินตามหลังเขาไปเรื่อย ๆ ไม่ยอมลงจากเขา จนมาพบ ถ้ำพระอรหันต์ที่เขาสามยอด (เมื่อ พ.ศ.2493) หลวงปู่จึงตัดสินในอธิฐานจิตว่า จะไม่ไปไหนอีก จะอยู่จำพรรษาที่นี่ตลอดไป และจะไม่ลงไปจากเขานี้อีกด้วย ซึ่งเมื่อ 40 ปีกว่าก่อน ที่แถว ๆ นี้ยังมีเสือ มีช้าง และสัตว์ป่าชุกชุมอยู่ รวมถึงไข้ป่ารุนแรงด้วย

ในระยะแรกที่หลวงปู่อยู่ ท่านไม่ลงไปไหนเลย รวมทั้งไม่ได้บิณฑบาตด้วย แต่ท่านก็อยู่ได้ ผู้เขียนได้สอบถามหลวงปู่ว่า 2-3 ปีแรก หลวงปู่ไม่ได้บิณฑบาตเลย ท่านอยู่องค์เดียวมาตลอด ไม่มีใครมาพบเห็นท่านเลย หลวงปู่อยู่ได้อย่างไร? และฉันอะไร? จึงอยู่ได้ หลวงปู่เล่าให้ฟังว่า ฉันยอดไม้ ใบไม้ โดยเฉพาะยอดโสมซึ่งขึ้นอยู่บนเขามากมายก็ฉันมาตลอด อิ่มแทนข้าวก็อยู่ได้ ส่วนหน้าแล้งบนเขาไม่มีน้ำ แล้วหลวงปู่เอาน้ำที่ไหนดื่มและมาสรง (อาบ) หลวงปู่บอกว่า ก็ตัดเถาวัลย์ให้น้ำไหลจากเถาวัลย์ เอากระติกรอง แล้วนำมาฉัน วันละนิดเดียวพอแก้กระหาย เพราะอยู่ในถ้ำอากาศเย็นจึงไม่ต้องฉันบ่อย ๆ ส่วนน้ำสรง ก็ไม่ต้อง เพราะอะไร ก็เพราะเหงื่อไม่ค่อยออก กลิ่นตัวจึงไม่ค่อยมี ฝนตกทีก็ได้สรงกันที

หลวงปู่อยู่ที่บนเขามา 40 กว่าปีแล้ว โดยไม่ยอมลงไปไหน ระยะหลังค่อยดีขึ้นมาหน่อย เพราะมีผู้คนมาเจอท่านแล้วพากันบอกต่อ ๆ ไป จึงมีคนมากราบเยี่ยมเยียนบ่อยขึ้น พร้อมทั้งมีผู้ศรัทธาและทหารได้มาสร้างกุฏิให้พออยู่ได้ พร้อมทั้งถังใส่น้ำ แต่ก็พอใช้ระยะหนึ่งเท่านั้น พอหนาแล้งน้ำไม่ค่อยพอใช้เช่นเดิม ในปีที่ผ่านมามีพระเณรมาจำพรรษาอยู่กับหลวงปู่อีก 2 รูป อีกทั้งมีสัตว์ป่ามาร่วมใช้ร่วมดื่มด้วย เช่น กระรอก กระแต นก สุนัข ไก่ป่า ฯลฯ ที่สำคัญมีลิง 2 ฝูงใหญ่ เป็นลิงป่าประมาณ 100 กว่าตัว จะมาทุกวัน วันละหลาย ๆ หน จนเชื่องขนาดจับเล่นได้ เพราะฝูงลิงมาอาศัยบารมีหลวงปู่อยู่ตั้งแต่แรกที่ท่านมาอยู่ จึงเป็นภาระให้หลวงปู่พอสมควร ทั้งเรื่องอาหารและน้ำ

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 1

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 2

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 3

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 4

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 5

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 6

ประวัติและภาพวัตถุมงคล หลวงปู่เรือง ธรรมสถานเขาสามยอด ตอนที่ 7



พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.