รายการอย่างอื่นที่น่าสนใจ
พระโพธิจักรใบโพธิ์ เนื้อดิน หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ออกวัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี ปี2496 พร้อมบัตรรับรองสมาคม
หมายเลข : 7994
พระโพธิจักรใบโพธิ์ เนื้อดิน หลวงพ่อลี วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ออกวัดป่าคลองกุ้ง จ.จันทบุรี ปี2496 พร้อมบัตรรับรองสมาคม
 
พระลีลาข้างแจกัน เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย แชมป์งานพื้นที่ ติดรางวัล ที่ 1 งานสมาคมฯ @จังหวัดสุโขทัย
หมายเลข : 6363
พระลีลาข้างแจกัน เนื้อชินเงิน กรุวัดมหาธาตุ จ.สุโขทัย แชมป์งานพื้นที่ ติดรางวัล ที่ 1 งานสมาคมฯ @จังหวัดสุโขทัย
 
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต ที่ระลึกวันแซยิด ดร.ไมตรี บุญสูง ปี2539 เนื้อนวะโลหะผิวพรายเงิน สองขอบ พร้อมซองเดิม จำนวนสร้าง 500 เหรียญ
หมายเลข : 7211
เหรียญหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง จ.ภูเก็ต ที่ระลึกวันแซยิด ดร.ไมตรี บุญสูง ปี2539 เนื้อนวะโลหะผิวพรายเงิน สองขอบ พร้อมซองเดิม จำนวนสร้าง 500 เหรียญ
 
พระผงของขวัญ วัดเกาะจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ปี2497 หลังจาร (พระซ่อม)
หมายเลข : 8231
พระผงของขวัญ วัดเกาะจันทร์ จ.ฉะเชิงเทรา ปี2497 หลังจาร (พระซ่อม)
 
ผานไถ พ่อท่านชื่น วัดในปราบ จ.สุราษฎร์ธานี (ชิ้นปีกผานไถ ขนาดใหญ่) ลงอักขระบรอนซ์ทอง พร้อมเลี่ยมเก่า
หมายเลข : 8479
ผานไถ พ่อท่านชื่น วัดในปราบ จ.สุราษฎร์ธานี (ชิ้นปีกผานไถ ขนาดใหญ่) ลงอักขระบรอนซ์ทอง พร้อมเลี่ยมเก่า
 
พระสมเด็จ หลัง ทสร เนื้อผงผสมกัลปังหาแดง ออกวัดทุ่งเสรี กรุงเทพ ปี2521 หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ... ปลุกเสก
หมายเลข : 7672
พระสมเด็จ หลัง ทสร เนื้อผงผสมกัลปังหาแดง ออกวัดทุ่งเสรี กรุงเทพ ปี2521 หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ... ปลุกเสก
 

eXTReMe Tracker


แหล่งข้อมูล สาระ พระเครื่อง พระบูชา วัตถุมงคล ของสะสม
 ค้นหาบทความ    

ประวัติ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีนามเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรจี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พุทธศักราช 2435 ที่ตำบลซานตายิโอวานนี่ แห่งนครฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี่ ซึ่งเป็นนครที่มีชื่อเสียงโด่งดังด้านศิลปกรรมและเป็นที่เกิดของอัจฉริยะทางด้านศิลปะของโลกอีกหลายท่าน บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เข้าศึกษาต่อที่สถาบันศิลปะแห่งฟลอเรนซ์ สำเร็จการศึกษาเมื่อ ปี พ.ศ. 2457 ผีมือด้านงานศิลปะของท่านดีเด่นเป็นที่ยอมรับกันในหมู่ศิลปิน โดยได้รับการแต่งตั้งเป็นศาสตราจารย์ที่สถาบันศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์ อิตาลี และท่านสอนอยู่นานจนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งประเทศสยาม มีพระราชประสงค์จะได้ช่างปั้นผู้เชี่ยวชาญในการสร้างอนุสาวรีย์ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์จึงได้รับเลือกจากรัฐบาลสยามพร้อมด้วยความสมัครใจของท่านด้วย

ท่านได้เดินทางเข้ามาเมืองไทยในปี พ.ศ. 2466 รับราชการในตำแหน่งช่างปั้นประจำกรมศิลปากร ต่อาเมื่อ พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ศิลป์ได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการประกวดงานศิลปกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 โดยการให้รางวัลเกียรตินิยมเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง แก่ผู้ได้รับรางวัล ให้เป็นที่รู้จักและเผยแพร่ ช่วยส่งเสริมศิลปินไทยให้มีกำลังใจทำงานศิลปะ ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ได้เขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะสมัยใหม่ แบบอย่าง และวิวัฒนาการในการสร้างสรรค์งานศิลปะอื่น ๆ อีก การวิจัยศิลปโบราณ การปั้น หล่ออนุสาวรีย์รูปบุคคล ประติมากรรม อีกมากมายเกินกว่าจะกล่าวได้ ณ ที่นี้

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี

ท่านศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สนับสนุนการอนุรักษ์ศิลปะโบราณและเป็นผู้บุกเบิกการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย ศิลปะสมัยใหม่ของประเทศไทยมาตลอดเป็นเวลาเกือบสี่สิบปีจวบจนท่านได้ถึงแก่กรรมในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งคณบดี ปฎิมากรรมคนแรกของมหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งท่านได้เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร ท่านเปรียบเสมือนบิดาของวงการศิลปะร่วมสมัยของประเทศไทย

ผลงานทางด้านศิลปะของท่านก็เป็นสิ่งที่รู้จักและได้รับการกล่าวขานกันอยู่เสมอ ในการสร้างสรรค์งานศิลปะที่เกี่ยวกับพระราชานุสาวรีย์ อนุสาวรีย์ และผลงานศิลปะอื่น ๆ อีกมากมาย เช่น พระปฐมบรมราชานุสรณ์พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช กรุงเทพฯ, พระราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี กรุงเทพฯ, อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (คุณหญิงโม) นครราชสีมา, อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี, อนุสาวรีย์พระเจ้าตากสิน วงเวียนใหญ่ ธนบุรี, อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ และอนุสาวรีย์อื่น ๆ อีกหลายแห่ง

พ.ศ. 2502 ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้สมรสกับ น.ส.มาลินี เคนนี่ ซึ่งเป็นคนไทยผู้มีส่วนช่วยเหลือท่านมากทั้งชีวิตส่วนตัวและการงานของท่าน

พ.ศ. 2505 ท่านได้ร่างโครงการหอศิลปสมัยใหม่ไว้ให้กับเมืองไทยในอนาคตและได้ถึงแก่กรรมด้วยการผ่าตัดมะเร็งกระเพาะที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2505 ได้รับพระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2506 เวลา 17.00 น.

ข้อมูลประกอบ พิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรี



พระเครื่อง สิ่งสะสม ทุกรายการ รับประกันความแท้ และ ความพอใจ
Copyright www.collection9.net All Rights Reserved.